วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การป้องกันโรคปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อม OSteoarthritis

ปัญหาโรคกระดูกและข้อที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ : โรคข้อเข่าเสื่อม

         ทุกภาคของประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุครบทุกภาคซึ่งหมายความว่าประเทศไทยมีประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 10 ของประชากร          ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุคือโรคกระดูกและข้อ ซึ่งมีการเสื่อมสภาพตามอายุที่มากขึ้น ทำให้เกิดอาการปวดตามจุดต่างๆของร่างกายเช่น อาการปวดคอ ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดเข่า        ปัญหาโรคข้อเข่าเสื่อมนับว่าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดเมื่อมีการเคลื่อน ไหวของข้อเข่า บางครั้งอาจจะมีอาการปวดและรู้สึกตึงบริเวณข้อพับด้านหลังของเข่า อาการบวมบริเวณข้อเข่า เนื่องจากมีน้ำในข้อเข่าซึ่งเกิดจากการอักเสบภายในข้อ ข้อยึดติด และไม่สามารถเหยียดงอเข่าได้เหมือนปกติ มีอาการเสียวภายในข้อเวลาเดิน บางครั้งมีอาการอ่อนแรง ต้นขาลีบ ขาโก่งผิดรูป          โรคข้อเข่าเสื่อมจะมีลักษณะที่มีการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อเข่าทำให้การเคลื่อนไหวของข้อเข่าไม่เรียบ มีการเสียดสีของกระดูก เป็นกระบวนการเสื่อมของข้อตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดเข่าเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีนำ ้หนักตัว ที่เพิ่มมากขึ้น  นั่ง คุกเข่า นั่งขัดสมาธิและนั่งพับเพียบเนื่องจากว่ากระดูกที่งอกออกรอบๆข้อที่มีการ เสื่อมมีการกดเบียดเส้นเอ็นและเนื้อเยื่ออ่อนรอบๆข้อ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อม ได้แก่
1.          พันธุกรรม  โดยมีหลักฐานปรากฏบางอย่างที่เชื่อว่ามีความผิดปกติทางพันธุกรรม ในการทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
2.          น้ำหนัก   น้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักมากขึ้นกว่าปกติ
3.          อายุ   เมื่ออายุมากขึ้นความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองของผิวข้อกระดูกอ่อนก็ลดน้อยลง ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายขึ้น
4.          เพศ  ผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี มีโอกาสเกิดข้อเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย
5.          เคยได้รับอุบัติเหตุที่บริเวณข้อเข่ามาก่อน รวมถึงได้รับอันตรายจากการเล่นกีฬา เช่น หมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาด เล่นกีฬาที่มีแรงกระทบต่อเข่ามากๆ เช่น ฟุตบอล, นักวิ่งมาราธอน, เทนนิส


เมื่อเป็นข้อเข่าเสื่อมแล้วจะมีวิธีการรักษาอย่างไร?
         แรกสุดต้องรักษาอาการปวด อาการปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อมเกิดได้จากหลายสาเหตุขึ้นอยู่กับระยะของโรค ดังนั้นการรักษาต้องปรับตามแต่ละบุคคล  การรักษาส่วนใหญ่คือ
1.          การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ป่วย เช่น หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ, นั่งท่าขัดสมาธิ, การลดน้ำหนัก, หลีกเลี่ยงการยกของหนัก, หรือการใส่เครื่องช่วยพยุงเข่า
2.          การใช้ยา ซึ่งมีการใช้ยา 2 กลุ่มคือ
a.          ยาลดปวด และลดการอักเสบภายในข้อเข่า จะช่วยบรรเทาอาการปวด
b.          ยากลูโคซามีน ซึ่งมีฤทธิ์ เสริมสร้างกระดูกอ่อน, ช่วยการหล่อลื่นของข้อ ทำให้ยับยั้งหรือลดกระบวนการทำลายของข้อ
3.          การบริหารเข่า เพื่อฝึกกล้ามเนื้อหน้าขาให้แข็งแรง สามารถพยุงเข่าให้มั่นคงยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถทำการบริหารโดยการนอนและเหยียดเข่าตรง และยกเท้าขึ้นจากพื้นนานครั้งละประมาณ 15 วินาที (ดังรูป)
4.          การฉีดยาเข้าข้อเข่า
a.          สารน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่า
b.          ยาสเตียรอยด์  มักฉีดเข้าไปยังบริเวณข้อเข่าที่มีอาการปวดมากๆ ซึ่งมักเป็นระยะสุดท้ายของโรคข้อเข่าเสื่อม ยานี้มักจะลดอาการปวดได้นานประมาณ 3 เดือน หรือในกรณีที่ข้อมีการอักเสบมากจะทำให้เกิดนำ้ในเข่าที่มีปริมาณมาก แพทย์จะดูดเอานำ้้้้อเข่าที่มีการอักเสบออก และมีการฉีดยาสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบภายในข้อเข่า
5.          การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เพื่อ แก้ไขข่อเสื่อมที่มีการโก่งผิดปกติ ให้ข้อเข่าตรง และลดอาการปวด ทำให้ผู้ป่วยสามารถเดินเป็นปกติข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดมักจะทำในกรณีที่อาการ ปวดไม่สามารถบรรเทาได้จากการใช้ยารับประทาน หรือการใช้ยาฉีดอย่างน้อยเป็นระยะเวลาประมาณ 6 สัปดาห์  หรือจะผ่าตัดในกรณีที่ข้อเข่ามีลักษณะโก่งมากผิดปกติมีผลต่อการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย ข้อดีของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าคือ ลดอาการปวดเข่า  สามารถแก้ไขแนวแกนของข้อเข่าให้กลับมาอยู่ในแนวปกติ และสามารถเคลื่อนไหวได้สะดวกมากขึ้น
ในปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมให้ผลเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยสามารถลุกเดินได้ 1 วันหลังจากผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เนื่องมาจากเทคนิกการผ่าตัดที่ดีขึ้น และเทคนิกการควบคุมอาการปวดหลังผ่าตัดโดยวิสัญญีแพทย์สามารถทำได้ดี ทำให้ผู้ป่วยไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดมากหลังผ่าตัด จึงสามารถลุกเดิน เคลื่อนไหว และทำกายภาพบำบัดได้ตั้งแต่วันแรกหลังผ่าตัด และทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้รวดเร็วกว่าในอดีต 

--> ภาพแสดงลักษณะของกระดูกข้อเข่าที่มีการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทำให้กระดูกมาเสียดสีกัน ทำให้มีอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุ


-->เข่าโก่งในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม




นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์
www.taninnit.com 
http://www.facebook.com/Doctorkeng

การป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม

การเกิดโรค ข้อเข่าเสื่อมเป็นกระบวนการเสื่อมของกระดูกอ่อนตรงบริเวณผิวข้อ ส่วนใหญ่มักเกิดที่บริเวณข้อเข่า ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดมากที่ข้อเข่า ส่วนใหญ่มักปวดมากเวลาเดิน เดินขึ้นบันได ถ้าเป็นมากจะมีการโก่งของข้อเข่าร่วมด้วย การป้องกันคือการชะลอไม่ให้ข้อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้นซึ่งก็คือการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ข้อเข่าดังต่อไปนี้

  1. หลีกเลี่ยงท่าทางที่ต้องงอเข่ามากกว่า 90 องศา เช่น การนั่งคุกเข่า การนั่งขัดสมาธิ การนั่งพับเพียบ เพราะการที่งอเข่ามากๆนั้นจะทำให้เพิ่มแรงที่กระทำต่อกระดูกอ่อนที่ผิวข้อ และในกรณีที่เป็นข้อเข่าเสื่อมแล้ว กระดูกที่งอกอยู่รอบๆข้อจะไปกดเบียดเส้นเอ็น และเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่รอบๆข้อทำให้มีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น
  2. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เพราะการยกของหนักจะไปเพิ่มแรงกระทำต่อบริเวณข้อเข่า ในวัยกลางคนที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปที่ยังออกกำลังหนักๆเช่น การเล่นกีฬาที่มีการกระแทกเช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล มีโอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บของข้อเข่าค่อนข้างสูง และการวิ่งหรือเล่นกีฬาหนักๆ ก็เพิ่มแรงกระทำที่ข้อเข่าซึ่งจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ไวขึ้น ดังนั้นควรเปลี่ยนประเภทของกีฬาเป็นประเภทที่ไม่มีแรงกระแทกต่อข้อเข่า เช่น  cross trainer ซึ่งเป็นการฝึกการเคลื่อนไหวของข้อเข่าและบริหารกล้ามเนื้อรอบๆเข่า ซึ่งดีกว่าการใช่ลู่วิ่งหรือ Treadmill 
  3. การบริหารกล้ามเนื้อรอบๆข้อเข่าโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหน้าขา (Quadriceps) จะช่วยพยุงข้อเข่าให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น 
  4. ถ้าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมน้อยๆ ยังไม่มีการผิดรูปมากนัก การใช้ยากลุ่ม glucosamine ก็จะมีประโยชน์และชะลอการเสื่อมของข้อได้ในระยะยาว และยากลุ่มนี้ก็ไม่มีผลเสียและไม่มีอันตรายต่อร่างกาย

การฝึกบริหารโดยการกระดกข้อเท้า และการยกขาสูงเพื่อลดบวมที่บริเวณข้อเข่า

ภาพแสดงลักษณะการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อที่หายไปในผู้ป่วยดรคข้อเข่าเสื่อม

ภาพเอกซเรย์แสดงการสึกกร่อนของข้อเข่าทำให้กระดูกมาชิดกันมากขึ้น

การออกกำลังกายการบริหารข้อเข่าด้วยการปั่นจักรยาน



การประคบเย็นเพื่อลดอาการบวมของข้อเข่า

การหัดเดินโดยใช้เครื่องพยุง walker

เข่าบวมข้างขวามากกว่าข้างซ้าย

เข่าโก่ง


นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์
www.taninnit.com 
http://www.facebook.com/Doctorkeng